วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ภาวะโลกร้อนเกิดจากอะไร ? 2


ในระยะที่ผ่านมาประชาคม สศช.คงได้ทราบข่าวผ่านทางสถานีโทรทัศน์หลายสถานีว่า น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือกำลังละลาย บางประเทศในยุโรปมีอากาศร้อนจัด จนถึงขั้นทำให้คนเสียชีวิต หิมะที่เทือกเขาคิลิมันจาโรซึ่งถูกเรียกขานว่า “หลังคาแห่งกาฬทวีป” กำลังละลายและว่ากันว่าอาจจะหมดไปในปี 2020 ส่วนประเทศแถบเอเชีย เช่น บริเวณเกาะต่างๆ ของประเทศอินโดนีเซีย มีภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรง แม้ประเทศไทยเองก็ประสบกับภาวะภัยแล้ง และน้ำท่วม เช่นกัน
คุณรู้หรือไม่ว่า...กำลังเกิดอะไรขึ้นกับโลกของเรา...และเราจะป้องกันหรือรับมือได้อย่างไร
ปรากฏการณ์ความแปรปรวนอย่างนี้ ในทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าสภาพเช่นนี้เป็น “ภาวะโลกร้อน” อันเป็นผลจากการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซค์และก๊าชอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติดักจับความร้อนออกไปยังบรรยากาศของโลก ก๊าชเหล่านี้จะรวมตัวกันจนกลายเป็นผ้าห่มหนาๆ ดักจับความร้อนของดวงอาทิตย์และทำให้โลกมีอุณหภูมิร้อนขึ้น ยิ่งก๊าชเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นความร้อนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ก๊าชเหล่านี้เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือถ่านหิน โดยเมื่อเราใช้พลังงานต่างๆ เช่าน การขับเคลื่อนรถยนต์ เท่ากับเป็นการเพิ่มกระบวนการสร้างโลกร้อน นอกจากนี้ภาวะโลกร้อนยังเกิดจากการสูญเสียงป่าธรรมชาติ เพราะไม่มีต้นไม้ดูดชับคาร์บอนไดออกไซค์ ตลอดจนการทำเกาตรและปศุสัตว์ที่ก่อให้เกิดก๊าชมีเทนซึ่งเป็นก๊าชที่ทำให้โลกร้อนได้เช่นกัน
ภาวะโลกร้อนมีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้ฤดูกาลต่างๆ เปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะค่อยๆ ตายลง ส่วนผลต่อมนุษย์เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น อาจทำให้บางพื้นที่กลายเป็นทะเลทราย ประชาชนขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มแต่บางพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก เนื่องจากฝนตกรุนแรงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกและบนยอดเขาสูงละลายทำให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้รับผลกระทบ บางพื้นที่อาจจมหายไปอย่างถาวร
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า โลกมีเวลาเพียงสิบปีเท่านั้นที่จะจัดการการความหายนะครั้งใหญ่ ที่อาจทำให้ระบบอากาศของโลกกลายเป็นเครื่องมือทำลายล้าง อาทิ สภาพอากาศอันรุนแรง น้ำท่วม ความแห้งแล้ง โรคระบาด และคลื่นความร้อนที่มีอำนาจทำลายล้างแรงกว่าที่เคยพบมา
ขณะที่ประเทศไทยมีปรากฏการณ์ด้านโลกร้อนเกิดขึ้นที่เห็นแล้ว โดยศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุว่า จากการสำรวจล่าสุดพบว่าระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยเพิ่มขึ้น 1 – 2 มิลลิเมตรต่อปี ยังอยู่ในระดับปกติ แต่ในทะเลฝั่งอันดามันสูงขึ้น 8 –12 มิลลิเมตรต่อปี มีผลอย่างมากต่อการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากที่ผ่านมาปริมาณน้ำทะเลที่สูงเพียง 50 เซนติเมตร สามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรง
เราสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้หลายวิธี เช่น ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง ช่วยกันปลูกต้นไม้ให้มากๆ ไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มีการตัดต้นไม้ทำลายป่า หรือยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายเช่น สาร CFCs ซึ่งมีในสเปรย์ชนิดต่างๆ สนับสนุนการใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้วัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้
แล้วคุณ .... เลือกที่จะป้องกันหรือรับมือกับภาวะโลกร้อนด้วยวิธีใดบ้างแล้วหรือยัง

ภาวะโลกร้อนเกิดจากอะไร ? 1


ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีอินฟาเรดได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้คงที่ ซึ่งหากบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ดังเช่นดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะแล้ว จะทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันนั้นร้อนจัด และในตอนกลางคืนนั้นหนาวจัด เนื่องจากก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
มีก๊าซจำนวนมากที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน และถูกจัดอยู่ในกลุ่มก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีทั้งก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญคือ ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน มีเทนและไนตรัสออกไซด์ สารซีเอฟซี เป็นต้น แต่ ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต มีเพียง 6 ชนิด โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (anthropogenic greenhouse gas emission) เท่านั้น ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ สารซีเอฟซี (CFC หรือ Chlorofluorocarbon) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลแล้ว
แหล่งกำเนิดของก๊าซเรือนกระจก
+ การย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์
+ จากโรงงานอุตสาหกรรม
+ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้เป็นสารหล่อเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ
+ ของใช้ประจำวัน เช่น ใช้เป็นสารขับดันในเครื่องกระป๋องที่เป็นสเปรย์
+ จากกทำนาข้าว หรือพืชที่ขังน้ำ และปศุสัตว์
+ การเผาไหม้ของซากพืชหรือสัตว์
+ การใช้งานโดยมีการเผาไหม้ของถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ
+ การเผาไหม้ในหลายรูปแบบ เช่น การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม ในรถยนต์
+ การเผาป่า เพื่อใช้พื้นที่อยู่อาศัย หรือทำการเกษตร หรือเผาหญ้าเผาฟางหลังการเก็บเกี่ยว
+ การทำปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การทำฟาร์ม

ภาวะโลกร้อน (Global Warming



เกิดจาก การเพิ่มขึ้นของก๊าซที่ปกคลุมชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้อุณภูมิภายในโลกสูงขึ้น เป็นเหตุให้ฤดูกาลทั่วโลกเปลี่ยนไป และก๊าซที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล
ภาวะโลกร้อน หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน สังเกตุได้จากอุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้น มีสาเหตุหลักของมาจากก๊าซเรือนกระจก
ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือมีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่ม ีบรรยากาศกรองพลังงานจากดวงอาทิตย์ ลักษณะเช่นนี้คล้ายกับหลักการของเรือนกระจก จึงมักเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)
การเพิ่มขึ้นของ ก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศมีความสามารถในการกักเก็บรังสีความร้อนได้มากขึ้น

วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ถ้าการเมืองไทยมีอภิสิทธิ์


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กและ น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ เจ้าของงานเขียน "ความสุขของกะทิ" รางวัลซีไรท์ ประจำปี พ.ศ. 2549

เมื่อ ด.ช.อภิสิทธิ์ มีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่ โรงเรียนอนุบาลยุคลธรระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ กรุงลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ (Philosophy, Politics and Economics, P.P.E.) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง[5][6]

หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเขาชะโงก จังหวัดนครนายก เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย

ต้นปี พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ได้รับปริญญา นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สื่อมวลชนจึงเรียกนายอภิสิทธิ์ว่า "ดร.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ในบางครั้ง[7]

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ น.ส.ปราง เวชชาชีวะ (มะปราง) และ ด.ช.ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ปัณ)

วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วิกฤตการณ์ Subprime ของสหรัฐ และผลกระทบต่อประเทศไทย


Just an Idea : ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ FSA@FPO.GO.TH กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้ไปบรรยายเกี่ยวกับเรื่อง "เรื่องวิกฤตการณ์ Subprime ของสหรัฐ และผลกระทบต่อประเทศไทย" ที่กระทรวงพาณิชย์ จึงขออนุญาตนำประเด็นสำคัญๆ มาเล่าให้ฟังโดยสรุปดังนี้
หนึ่ง วิกฤตการณ์ Subprime
Subprime Lending หมายถึง สินเชื่อที่ปล่อยให้แก่ลูกหนี้คุณภาพต่ำ ที่ไม่สามารถกู้ยืมผ่านตลาดสินเชื่อปกติได้ เพราะมีประวัติการกู้ยืมไม่ดีพอ เป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง เพราะมีโอกาสที่ลูกหนี้จะไม่สามารถชำระหนี้คืนสูง ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยที่ให้กู้ยืมจะสูงกว่าปกติ Subprime Lending ในสหรัฐ เติบโตอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันลูกค้า Subprime คิดเป็นประมาณร้อยละ 25 ของประชากรสหรัฐ
สอง สาเหตุของการเกิดวิกฤตการณ์ Subprime
ในภาพรวม ผู้ที่เกี่ยวข้องและก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ Subprime แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ผู้กู้เงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงินต่างๆ ตลาดเงิน รัฐบาลและธนาคารกลาง สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ Subprime ได้แก่ ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยแตกต่างไปจากเดิม โดยธนาคารสามารถขายตราสารหนี้ เพื่อนำเงินมาปล่อยสินเชื่อได้ จึงมีการนำตราสารหนี้ Subprime ไปขายแก่สถาบันการเงินและกองทุนต่างๆ และนำเงินมาปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้ที่มีประวัติการกู้ไม่ดีเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้ผลตอบแทนสูง
นอกจากนี้ การให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยบางประเภท กำหนดให้ชำระเงินคงที่ 2 ปีแรก หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้น (Balloon Mortgages) ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินหลังจากปีที่สองได้ ทำให้เกิดหนี้เสียขึ้นเป็นจำนวนมาก Subprime Lending ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในสหรัฐ ในปี 2549 1 ใน 5 ของที่อยู่อาศัยเป็นลูกค้า Subprime และในปี 2550 Subprime Mortgage มีมูลค่าประมาณ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์
ปัญหาการไม่สามารถชำระเงินได้ของลูกหนี้ Subprime ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ Subprime และมีผลต่อราคาที่อยู่อาศัย ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ต่ำลง เกิดการถดถอยในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง สถาบันการเงินเกิดการขาดทุน จากการที่ราคาตราสารที่มี Subprime เป็น Underlying Asset ลดลง ทำให้สถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยสินเชื่อเพิ่ม เพราะกังวลต่อความเสี่ยงของหนี้เสียที่เกิดจาก Subprime ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯโดยรวม และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ คาดว่า การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ จะเหลือเพียงประมาณร้อยละ 1-1.5 ต่อปี
สาม ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักประมาณร้อยละ 70 ของ GDP โดยสหรัฐ เป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทย การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ จึงอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ปัจจุบันสัดส่วนการส่งออกของไทยไปสหรัฐได้มีแนวโน้มลดลงจาก 16% ในปี 2547 เหลือ 12.6% ในปี 2550 โดยตลาดส่งออกของไทยได้กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ มากขึ้น เช่น ญี่ปุ่น อาเซียน ยุโรป หรือตะวันออกกลาง
นอกจากนั้น ประเทศในเอเชียได้มีการค้าและการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งแสดงว่าประเทศในเอเชียรวมทั้งไทยได้ค่อยๆ แยกตัวออกจากการพึ่งพาเศรษฐกิจของสหรัฐ (Decouple) มากขึ้น นอกจากนี้ ปัจจุบันไทยมีระบบภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ ที่เข้มแข็งมากขึ้นกว่าเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 โดยมีหลายปัจจัยสนับสนุน เช่น การขยายตัวมากขึ้นของภาคการเงินอื่นนอกเหนือจากสถาบันการเงิน เช่น ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ระบบการกำกับดูแลภาคการเงินที่มีมาตรฐานสากลมากขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงคาดว่าจะไม่มากนัก แต่ก็ควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมตัวและปรับตัวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
สี่ ผลกระทบต่อระบบการเงินของไทย
สถาบันการเงินของไทยที่มีการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีสินทรัพย์เป็นหลักประกัน (Collateralized Debt Obligation : CDO) ซึ่งมี Subprime Lending เป็น Underlying Asset มีน้อย ดังนั้น ผลกระทบต่อระบบการเงินโดยตรงของไทยจะมีน้อยมาก แต่อาจจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากตลาดเงินโลกที่มีความผันผวนมากขึ้น และผลกระทบจากการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีการลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศลงมาก ซึ่งอาจจะทำให้มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
ห้า แนวทางการรับมือ
สำหรับในประเทศไทยควรกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการเพิ่มอุปสงค์ในประเทศให้เพิ่มขึ้น เช่น การกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐ การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น และส่งเสริมให้มีการลงทุนในต่างประเทศเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเงินทุนไหลเข้าและไหลออก
การแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศ
เพื่อป้องกันมิให้เศรษฐกิจระหว่างประเทศผันผวน หรืออิงกับสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐ มากเกินไป (ปัจจุบัน เอเชียส่งออกไปสหรัฐ ร้อยละ 60 ของ GDP) ประเทศในเอเชียต้องร่วมมือกันส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น และร่วมมือกันรับความผันผวนจากตลาดเงินเพื่อให้เกิดการ Decouple จากระบบเศรษฐกิจสหรัฐ
สรุปแล้วเราคงต้องติดตามการรับมือและการแก้ไขปัญหาของสหรัฐ ที่มีการออกมาตรการต่างๆ มากระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 1.5 แสนล้านดอลลาร์ ว่า จะสามารถเยียวยา และแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจถดถอยในขณะนี้ได้มากน้อยเพียงใด และปัญหาการขยายตัวของหนี้เสียของลูกหนี้ Subprime ไปสู่ลูกหนี้ชั้นดีและสินเชื่อประเภทอื่นๆ จะควบคุมได้หรือไม่ และคาดว่า ปัญหา Subprime จะส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ต่อไปอีกประมาณ 1-2 ปี